วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

แบบบุคคลธรรมดา (Individual, Dial-up)



รูปแบบของการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตสามารถกระทำได้หลากหลาย เช่น


1. จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Mail)

จดหมายอิเลคทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า E-mail เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก

2. การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (Wold Wide Web : WWW)

เป็นการสื่อสารที่เติบโตเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลกราฟิคได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือข้อมูลต่าง ๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติของ HyperText Link

3. การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)

การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware shareware จากแหล่งข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Server ของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่ WS_FTP, CuteFTP 

4. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (USENET)

การสื่อสารประเภทนี้มาที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ Bulletin Board กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตนเข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศ คือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูลตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน

5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telnet)

Telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้

6. การสนทนาผ่านเครือข่าย (Talk หรือ Chat)

เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือสามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ ในการสนทนาผ่านเครือข่ายนี้สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โดยในระยะแรกจะจำกัดเฉพาะ Text-based คือใช้วิธีการพิมพ์เป็นข้อความในการสื่อสารโต้ตอบระหว่างกัน โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk และ IRC (Internet Relay Chat) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนามากขึ้นทั้งด้าน Hardware และ Software ทำให้ปัจจุบันเราสามารถสทาอสารกันทาง Voice-based ได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารประเภทนี้ เช่น NetMeeting ของไมโครซอฟต์ หรือ Inter Phone ของ Vocaltec ฯลฯ


การจดทะเบียนชื่อโดเมนคืออะไร


การจดทะเบียนชื่อโดเมน คือ การนำชื่อบริษัท ห้างร้าน ชื่อสินค้าหรือบริการ เครื่องหมายการค้า ควรเป็นชื่อที่จำง่ายและสื่อถึงธุรกิจของท่าน มายื่นขอจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งชื่อที่ท่านยื่นจดนั้น ท่านคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในชื่อโดเมน คนอื่นไม่สามารถจดชื่อนั้นได้อีก ตราบเท่าที่ท่านยังคงรักษาสิทธิ์นั้นไว้

จดทะเบียนชื่อโดเมนระดับสูง Nameonnet เป็นนายทะเบียนสัญชาติไทยรับจดทะเบียนชื่อโดเมนระดับสูง .com , .net , .org (Top Level Domains) ในประเทศไทยให้กับบุคคลทั่วไปและบริษัทในประเทศไทยซึ่งรับอนุญาตจากผู้ได้รับอนุมัติจาก ICANN (The Internet Corporation For Assigned Names and Numbers) ให้เป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนชื่อโดเมน โดย Nameonnet มีระบบ Online แบบ Real Time ท่านสามารถยื่นขอจดทะเบียนชื่อโดเมนได้ด้วยตัวท่านเองกับ InterNIC และชำระเงินผ่านบัตรเครดิตด้วยระบบความปลอดภัย SSL ของธนาคารไทยพาณิชย์ ต่อไปนี้คือ ชื่อโดเมนชั้นสูงที่นิยมใช้กันมากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

จดทะเบียนชื่อโดเมนชั้นสูงของประเทศไทย (Country Code Domain Names) ได้ที่ THNIC.netให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมน ภายใต้ชื่อโดเมนชั้นสูงของประเทศ ได้แก่

.co.th สำหรับการพาณิชย์และธุรกิจผู้สมัครขอจดทะเบียน ชื่อโดเมนภายใต้หมวดหมู่นี้จะต้องเป็นองค์กรพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือ บริษัทต่างประเทศที่มีตัวแทนอยู่ในประเทศไทย และตัวแทนนั้น จะต้องจดทะเบียนในประเทศไทย และได้รับการโอนสิทธิ ในการจดทะเบียนชื่อโดเมนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

.ac.th สำหรับสถาบันการศึกษา ผู้สมัครขอจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้หมวดหมู่นี้จะต้องเป็นสถาบันการศึกษา ที่จดทะเบียนในประเทศไทย

.go.th สำหรับการใช้ของภาครัฐบาล เช่น กระทรวงหรือหน่วยงานของรัฐบาล ผู้สมัครขอจดทะเบียนโดเมนภายใต้หมวดหมู่นี้จะต้องเป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย

.net.th สำหรับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายโดยจะต้องมีการยืนยันจาก การสื่อสารแห่งประเทศไทย

.or.th สำหรับองค์กรที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไร

.mi.th สำหรับหน่วยงานทางทหาร

เพื่อให้ชื่อเป็นที่อ้างอิงได้ ชื่อจึงไม่ซ้ำกัน โดเมนของระบบจึงต้องได้รับการจดทะเบียน แต่เดิม internic เป็นหน่วยงานกลางที่ดูแลชื่อและรับจดทะเบียน แต่ต่อมามีภาระกิจมากจึงกระจายออกไปให้เอเซียแปซิฟิกดูแลส่วนพื้นที่เอเซียแปซิฟิก ก็ใช้หน่วยงาน apnic และในที่สุดก็กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยผู้ดูแลการจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ .th ทั้งหมด คือ thnic สามารถดูรายละเอียดได้จาก http://www.thnic.net/ เมื่อมีโดเมนของตนเองแล้ว ภายใต้โดเมนนั้น ๆ ผู้เป็นเจ้าของโดเมนสามารถบริหารจัดการและจดทะเบียนชื่อของตนเองได้ เช่น ภายใต้ chula.ac.th ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักบริการคอมพิวเตอร์เป็นผู้ดูแลและบริหาร ตลอดจนรับจดทะเบียนชื่อภายใต้โดเมนนี้ การจัดการชื่อบนอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบ และสามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้ ชื่อจะได้รับการจดทะเบียน และดูแลภายใต้เครื่องที่ทำหน้าที่จัดการที่เรียกว่า เนมเซิร์ฟเวอร์ ระบบเนมเซิร์ฟเวอร์จึงเป็นระบบที่สำคัญ และจะช่วยให้หน่วยงานดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้

ทุกครั้งที่ใช้งาน เช่น การใช้บราวเซอร์ เรียกดูเว็บเพ็จต่าง ๆ เราอ้างอิงด้วยชื่อ เช่น www.cnn.com การอ้างอิงทุกครั้งจะต้องมีการมาสอบถามที่เนมเซิร์ฟเวอร์ เนมเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนชื่อที่ผู้ใช้เรียกให้เป็นหมายเลข IP จากนั้นจึงใช้หมายเลข IP ติดต่ออีกครั้ง ดังนั้น ถ้าหากการสอบถามได้รับการตอบไว การทำงานส่วนนี้ก็จะเร็วขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การบริหารเนมเซิร์ฟเวอร์จึงต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในกรณีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้ระบบเนมเซิร์ฟเวอร์เฉพาะ ทำให้บริการอย่างรวดเร็ว และเน้นให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์นี้ทำงานหลักนี้อย่างเดียว จึงทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่มีปัญหาในเรื่องช่องสื่อสาร

เนมเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ในการให้บริการ โดยหากถามด้วยชื่อ ก็จะตอบหมายเลข IP และหากถามหมายเลข IP ก็จะตอบด้วยชื่อ ระบบเนมเซิร์ฟเวอร์จะทำการติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์ด้วยกันเอง และมีการจัดวางระบบเพื่อสอบถามข้อมูลระหว่างกัน ซอฟต์แวร์ที่อยู่ในเนมเซิร์ฟเวอร์ และเชื่อมโยงกับดาต้าเบสอื่นเป็นชั้น ๆ เรียกว่า ดีเอนเอส (DNS) การจดทะเบียนชื่อโดเมนก็ดี การจดทะเบียนชื่อก็ดี จะต้องทำอย่างถูกหลักการ การจดทะเบียนโดเมนได้ ผู้จดทะเบียนจะต้องเป็นเจ้าของหมายเลข IP และมีสิทธิเท่านั้นการจดทะเบียนชื่อจะต้องใช้ IP เช่น IP หมายเลข 161.200.155.1 จดทะเบียนเป็น satitm.chula.ac.th

เครือข่าย (Network)


เครือข่าย (Network) หมายถึง

1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)

2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์

3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้

วัตถุประสงค์ของการใช้ระบบเครือข่าย

1. สามารถใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้

ก็คือ เครื่องลูก(Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง

2. เพื่อความประหยัด

เพราะว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องไหนก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน

3. เพื่อความเชื่อถือได้ของระบบงาน

นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบ Computer Network มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที

4. ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง

เมื่อต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ในที่ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น บริษัทแม่อยู่ที่ กรุงเทพ ส่วนบริษัทลูกอาจจะอยู่ตามต่างจังหวัด แต่ละที่ก็มีการเก็บข้อมูล การเงิน ประวัติลูกค้า และอื่นๆ แต่ถ้าต้องการใช้ข้อมูลของอีกที่หนึ่งจะเกิดความลำบาก ล่าช้า และไม่สะดวก จึงมีการนำหลักการของ Computer Network มาใช้งาน เช่น มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน หรือโปรแกรม ข้อมูล ร่วมกัน

องค์ประกอบของระบบเครือข่าย

จะต้องมี 3 ประการนี้จึงจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนระบบเครือข่าย

- เครื่องคอมพิวเตอร์ PC / Macintosh

- เครื่องคอมพิวเตอร์เวอร์คสเตชัน

2. Physical Media หรือสื่อเชื่อมต่อทางกายภาพอันได้แก่ สาย (Cable) และ Hub หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ

3. ระเบียบพิธีการติดต่อสื่อสาร (Protocol) ก็คือระเบียบหรือข้อตกลง (rules) ที่ตั้งขึ้น เพื่อทำให้ผู้ที่จะสื่อสารกันเข้าใจกันและกัน ตัวอย่างเช่นสัญญาณธงที่ทหารเรือใช้สื่อสารกัน เป็นต้น



รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology)


คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการอออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่าย (network topology) เมื่อพิจารณาการต่อเชื่อมโยงถึงกันของอุปกรณ์สำนักงานซึ่งใช้งานที่ต่าง ๆ หากต้องการเชื่อมต่อถึงกันโดยตรง จะต้องใช้สายเชื่อมโยงมาก ปัญหาของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ของสถานีปลายทางหลาย ๆ สถานีคือ จำนวนสายที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างสถานีเพิ่มมากขึ้น ง่ายต่อการติดตั้ง และมีประสิทธิภาพที่ดีต่อระบบ รูปร่างเครือข่ายงานที่ใช้ในการสื่อสารมีหลายรูปแบบ ซึ่งมีรูปแบบที่นิยมกัน 3 แบบ คือ Bus , Star และ Ring

1. Star Topology

แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

ข้อดี - การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่าย
- ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหาได้ง่าย

ข้อเสีย - ต้องใช้สายจำนวนมาก
- ถ้าฮับ(Hub)เสีย ระบบเครือข่ายจะ หยุดชะงักทั้งหมดทันที

2. Ring Topology

แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป

ข้อดี - ใช้สายเคเบิลน้อย
- เมื่อมีเครื่องเสียสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้

ข้อเสีย - หากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย
- การเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน

3. Bus Topology

แบบบัสและต้นไม้ เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สลับสาย เหมือนแบบวงแหวนหรือแบบดาว สถานีต่างๆ จะเชื่อมต่อเข้าหาบัสโดยผ่านทางอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็นฮาร์ดแวร์ การจัดส่งข้อมูลบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ การจัดส่งวิธีนี้จึงต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน

ข้อดี - การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่าย
- ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหาได้ง่าย

ข้อเสีย - ต้องใช้สายจำนวนมาก
- ถ้าฮับ(Hub)เสีย ระบบเครือข่ายจะ หยุดชะงักทั้งหมดทันที



อุปกรณ์ระบบเครือข่าย


สายสัญญาณ หรือสายรับ-ส่งข้อมูล




สายคู่บิดเกลียว ( Twisted pair) แต่ละคู่สายทองแดงจะถูกพันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก โดยระยะทางในการเดินสายสัญญาณจะไม่เกิน 100 เมตร เพราะถ้าเกินก็จะเกิดปัญหาในการ รับ-ส่งข้อมูล

สายคู่บิดเกลียวแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

ก. สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียว ที่หุ้ม ด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูป เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า 

สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน 
ข. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair :UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียว ที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นดังรูปทำให้สะดวกในการโค้งงอแต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก ซึ่งสายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน นี้เป็นแบบ ที่นิยมใช้มาก เนื่องจากราคาถูก และติดตั้งได้ง่าย

สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน
สายโคแอกเชียล ( Coaxial ) สายโคแอกเชียลเป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวีที่มีการใช้งานกันมาก การส่งข้อมูลระยะไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์ หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดิทัศน์ แต่ในปัจจุบันสายแบบโคแอกเชียลนี้จะไม่นิยมนำมาติดตั้งในระบบเครือข่าย LAN เนื่องจากมีความยุ่งยากมากกว่าการติดตั้งโดยใช้สาย UTP และราคาจะสูงกว่าด้วยครับ

ลักษณะของสายโคแอกเชียล 

สายไฟเบอร์ออบติก(Fiber Obtic) หรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายรับ-ส่งสัญญาณด้วยแสง มีความเร็วในการทำงานสูง ส่งข้อมูลได้ไกล และไม่มีสัญญาณรบกวน มีราคาแพง

อินเทอร์เน็ต



อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง ( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต
อินเทอร์เน็ตมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเล่นอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
ระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง และสามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้

เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือAdvanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี 1969 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อ
การสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี ค.ศ. 1970 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
สำหรับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ IDP (The International Development Plan) เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถติต่อสื่อสารทาง
อีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียได้ ได้มีการติดตั้งระบบอีเมลขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์ ความเร็วของโมเด็มที่ใช้ในขณะนั้นมีความเร็ว 2,400 บิต/วินาที จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลฉบับแรกที่ติดต่อระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเปรียบเสมือนประตูทางผ่าน (Gateway) ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลียในขณะนั้น
ในปี พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย
ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต
จึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมาย


การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย


หลักการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั่วโลก เพราะเป็นช่องทางที่สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจและพาณิชย์ในด้านต่างๆ ช่วยในเรื่องการลดระยะเวลาและต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้โดยทั่วไป ยังไม่เห็นความสำคัญ ของการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยเท่าที่ควร เนื่องจากยังขาดความรู้ในการใช้งานและวิธีป้องกัน หรืออาจคิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรมาก ในการใช้งาน แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวเองแล้ว ก็ทำให้ตนเองเดือดร้อน เราสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนี้ 
1 ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว 
2 ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ
3 ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ
4 ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ
5 ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย
6 สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Internet Bullying)
7 ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ 
อย่าบันทึก!ชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์นี้” อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่มาใช้เครื่องต่อจากคุณ สามารถล็อคอินเข้าไป จากชื่อของคุณที่ถูกบันทึกไว้ แล้วสวมรอยเป็นคุณ หรือแม้แต่โอนเงินในบัญชีของคุณจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ ที่เขาต้องการ ผลก็คือคุณอาจหมดตัวและล้มละลายได้
8 ไม่ควรบันทึกภาพวิดีโอ หรือเสียงที่ไมเหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือ
เพราะภาพ เสียง หรือวีดีโอนั้นๆ รั่วไหลได้ เช่นจากการแคร็ก ข้อมูล หรือถูกดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม เพียร์ ทู เพียร์ (P2P) และถึงแม้ว่าคุณจะลบไฟล์นั้นออกไปจากเครื่องแล้ว ส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์ยังตกค้างอยู่ แล้วอาจถูกกู้กลับขึ้นมาได้ โดยช่างคอม ช่างมือถือ
9 จัดการกับ Junk Mail จังค์ เมล์ หรือ อีเมล์ขยะ
ปกติ การใช้อีเมล์จะมีกล่องจดหมายส่วนตัว หรือ Inbox กับ กล่องจดหมายขยะ Junk mail box หรือ Bulk Mail เพื่อแยกแยะประเภทของอีเมล์ เราจึงต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะคัดกรองจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเอง เพื่อกันไม่ให้มาปะปนกับจดหมายดีๆ ซึ่งเราอาจเผลอไปเปิดอ่าน แล้วถูกสปายแวร์ แอดแวร์เกาะติดอยู่บนเครื่อง หรือแม้แต่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เล่นงาน
10 จัดการกับแอดแวร์ สปายแวร์
จัดการกับสปายแวร์แอดแวร์ที่ลักลอบเข้ามาสอดส่องพฤติกรรมการใช้เน็ตของคุณ ด้วยการซื้อโปรแกรมหรือไปดาวน์โหลดฟรีโปรแกรมมาดักจับและขจัดเจ้าแอดแวร์ สปายแวร์ออกไปจากเครื่องของคุณ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีได้ที่ 
แต่แค่มีโปรแกรมไว้ในเครื่องยังไม่พอ คุณต้องหมั่นอัพเดทโปรแกรมออนไลน์และสแกนเครื่องของคุณบ่อยๆด้วย เพื่อให้เครื่องของคุณปลอดสปาย ข้อมูลของคุณก็ปลอดภัย
* โปรแกรมล้าง แอดแวร์ และ สปายแวร์ จะใช้โปรแกรมตัวเดียวกัน ซึ่งบางครั้งเขาอาจตั้งชื่อโดยใช้แค่เพียงว่า โปรแกรมล้าง แอดแวร์ แต่อันที่จริง มันลบทิ้งทั้ง แอดแวร์ และสปายแวร์พร้อมๆ กัน เพราะเจ้าสองตัวนี้ มันคล้ายๆ กัน 
11 จัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมีโปรแกรมสแกนดักจับและฆ่าไวรัส ซึ่งอันนี้ควรจะดำเนินการทันทีเมื่อซื้อเครื่องคอม เนื่องจากไวรัสพัฒนาเร็วมาก มีไวรัสพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แม้จะติดตั้งโปรแกรมฆ่าไวรัสไว้แล้ว ถ้าไม่ทำการอัพเดทโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ต เวลาที่มีไวรัสตัวใหม่ๆ แอบเข้ามากับอินเทอร์เน็ต เครื่องคุณก็อาจจะโดนทำลายได้  
12 ใช้ Adult Content Filter ในโปรแกรม P2P
สำหรับผู้ชื่นชอบการดาวน์โหลดผ่านโปรแกรมแชร์ข้อมูล P2P ให้ระวังข้อมูลสำคัญ ไฟล์ภาพ วีดีโอส่วนตัว หรืออะไรที่ไม่ต้องการจะเปิดเผยสู่สาธารณะชน ควรบันทึกลงซีดี ดีวีดี หรือเทปไว้ อย่าเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะคุณอาจถูกเจาะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปได้
13 กรองเว็บไม่เหมาะสมด้วย Content Advisor ในอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ
ในโปรแกรมเว็บ บราวเซอร์ อย่าง อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ ก็มีการตั้งค่า คอนเทนท์ แอดไวเซอร์ หรือฟังก์ชั่น การกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถเปิดเข้าไปในเว็บไซท์ที่มีภาพและเนื้อหา โป๊ เปลือย ภาษาหยาบคาย รุนแรงได้ และยังมีการตั้งพาสเวิร์ด หรือรหัส สำหรับผู้ปกครอง เพื่อกันเด็กเข้าไปแก้ไขการตั้งค่าของคุณ ซึ่งคุณสามารถเข้าไปปลดล็อกได้ทุกเมื่อ ถ้าคุณจำเป็นต้องเข้าเว็บไซท์บางเว็บไซท์
ที่มา



www.icthousekeeper.com

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต




ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต  ประโยชน์จากการใช้อินเตอร์เน็ตมีอะไรบ้าง


           ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา 
          - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ 
          - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ 
          - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น 

ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ 

          - ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ 
          - สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
          - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น 

ด้านการบันเทิง 

          - การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป 
          - สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 
          - สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้

          จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้ 

       
          1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้อง ส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้ 
          2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้ 
          3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง 
          4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้ 
          5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์ เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 
          6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม 
          7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต 
          8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

          โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กรประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต , ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตมีอะไรบ้าง , ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตต่อตัวเรา , ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตด้านต่างๆ , ประโยชน์จากการใช้อินเตอร์เน็ต







ที่มา eduzones.com