วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

แบบบุคคลธรรมดา (Individual, Dial-up)



รูปแบบของการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตสามารถกระทำได้หลากหลาย เช่น


1. จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Mail)

จดหมายอิเลคทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า E-mail เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก

2. การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (Wold Wide Web : WWW)

เป็นการสื่อสารที่เติบโตเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลกราฟิคได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือข้อมูลต่าง ๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติของ HyperText Link

3. การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)

การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware shareware จากแหล่งข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Server ของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่ WS_FTP, CuteFTP 

4. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (USENET)

การสื่อสารประเภทนี้มาที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ Bulletin Board กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตนเข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศ คือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูลตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน

5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telnet)

Telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้

6. การสนทนาผ่านเครือข่าย (Talk หรือ Chat)

เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือสามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ ในการสนทนาผ่านเครือข่ายนี้สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โดยในระยะแรกจะจำกัดเฉพาะ Text-based คือใช้วิธีการพิมพ์เป็นข้อความในการสื่อสารโต้ตอบระหว่างกัน โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk และ IRC (Internet Relay Chat) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนามากขึ้นทั้งด้าน Hardware และ Software ทำให้ปัจจุบันเราสามารถสทาอสารกันทาง Voice-based ได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารประเภทนี้ เช่น NetMeeting ของไมโครซอฟต์ หรือ Inter Phone ของ Vocaltec ฯลฯ


การจดทะเบียนชื่อโดเมนคืออะไร


การจดทะเบียนชื่อโดเมน คือ การนำชื่อบริษัท ห้างร้าน ชื่อสินค้าหรือบริการ เครื่องหมายการค้า ควรเป็นชื่อที่จำง่ายและสื่อถึงธุรกิจของท่าน มายื่นขอจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งชื่อที่ท่านยื่นจดนั้น ท่านคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในชื่อโดเมน คนอื่นไม่สามารถจดชื่อนั้นได้อีก ตราบเท่าที่ท่านยังคงรักษาสิทธิ์นั้นไว้

จดทะเบียนชื่อโดเมนระดับสูง Nameonnet เป็นนายทะเบียนสัญชาติไทยรับจดทะเบียนชื่อโดเมนระดับสูง .com , .net , .org (Top Level Domains) ในประเทศไทยให้กับบุคคลทั่วไปและบริษัทในประเทศไทยซึ่งรับอนุญาตจากผู้ได้รับอนุมัติจาก ICANN (The Internet Corporation For Assigned Names and Numbers) ให้เป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนชื่อโดเมน โดย Nameonnet มีระบบ Online แบบ Real Time ท่านสามารถยื่นขอจดทะเบียนชื่อโดเมนได้ด้วยตัวท่านเองกับ InterNIC และชำระเงินผ่านบัตรเครดิตด้วยระบบความปลอดภัย SSL ของธนาคารไทยพาณิชย์ ต่อไปนี้คือ ชื่อโดเมนชั้นสูงที่นิยมใช้กันมากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

จดทะเบียนชื่อโดเมนชั้นสูงของประเทศไทย (Country Code Domain Names) ได้ที่ THNIC.netให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมน ภายใต้ชื่อโดเมนชั้นสูงของประเทศ ได้แก่

.co.th สำหรับการพาณิชย์และธุรกิจผู้สมัครขอจดทะเบียน ชื่อโดเมนภายใต้หมวดหมู่นี้จะต้องเป็นองค์กรพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือ บริษัทต่างประเทศที่มีตัวแทนอยู่ในประเทศไทย และตัวแทนนั้น จะต้องจดทะเบียนในประเทศไทย และได้รับการโอนสิทธิ ในการจดทะเบียนชื่อโดเมนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

.ac.th สำหรับสถาบันการศึกษา ผู้สมัครขอจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้หมวดหมู่นี้จะต้องเป็นสถาบันการศึกษา ที่จดทะเบียนในประเทศไทย

.go.th สำหรับการใช้ของภาครัฐบาล เช่น กระทรวงหรือหน่วยงานของรัฐบาล ผู้สมัครขอจดทะเบียนโดเมนภายใต้หมวดหมู่นี้จะต้องเป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย

.net.th สำหรับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายโดยจะต้องมีการยืนยันจาก การสื่อสารแห่งประเทศไทย

.or.th สำหรับองค์กรที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไร

.mi.th สำหรับหน่วยงานทางทหาร

เพื่อให้ชื่อเป็นที่อ้างอิงได้ ชื่อจึงไม่ซ้ำกัน โดเมนของระบบจึงต้องได้รับการจดทะเบียน แต่เดิม internic เป็นหน่วยงานกลางที่ดูแลชื่อและรับจดทะเบียน แต่ต่อมามีภาระกิจมากจึงกระจายออกไปให้เอเซียแปซิฟิกดูแลส่วนพื้นที่เอเซียแปซิฟิก ก็ใช้หน่วยงาน apnic และในที่สุดก็กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยผู้ดูแลการจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ .th ทั้งหมด คือ thnic สามารถดูรายละเอียดได้จาก http://www.thnic.net/ เมื่อมีโดเมนของตนเองแล้ว ภายใต้โดเมนนั้น ๆ ผู้เป็นเจ้าของโดเมนสามารถบริหารจัดการและจดทะเบียนชื่อของตนเองได้ เช่น ภายใต้ chula.ac.th ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักบริการคอมพิวเตอร์เป็นผู้ดูแลและบริหาร ตลอดจนรับจดทะเบียนชื่อภายใต้โดเมนนี้ การจัดการชื่อบนอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบ และสามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้ ชื่อจะได้รับการจดทะเบียน และดูแลภายใต้เครื่องที่ทำหน้าที่จัดการที่เรียกว่า เนมเซิร์ฟเวอร์ ระบบเนมเซิร์ฟเวอร์จึงเป็นระบบที่สำคัญ และจะช่วยให้หน่วยงานดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้

ทุกครั้งที่ใช้งาน เช่น การใช้บราวเซอร์ เรียกดูเว็บเพ็จต่าง ๆ เราอ้างอิงด้วยชื่อ เช่น www.cnn.com การอ้างอิงทุกครั้งจะต้องมีการมาสอบถามที่เนมเซิร์ฟเวอร์ เนมเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนชื่อที่ผู้ใช้เรียกให้เป็นหมายเลข IP จากนั้นจึงใช้หมายเลข IP ติดต่ออีกครั้ง ดังนั้น ถ้าหากการสอบถามได้รับการตอบไว การทำงานส่วนนี้ก็จะเร็วขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การบริหารเนมเซิร์ฟเวอร์จึงต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในกรณีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้ระบบเนมเซิร์ฟเวอร์เฉพาะ ทำให้บริการอย่างรวดเร็ว และเน้นให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์นี้ทำงานหลักนี้อย่างเดียว จึงทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่มีปัญหาในเรื่องช่องสื่อสาร

เนมเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ในการให้บริการ โดยหากถามด้วยชื่อ ก็จะตอบหมายเลข IP และหากถามหมายเลข IP ก็จะตอบด้วยชื่อ ระบบเนมเซิร์ฟเวอร์จะทำการติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์ด้วยกันเอง และมีการจัดวางระบบเพื่อสอบถามข้อมูลระหว่างกัน ซอฟต์แวร์ที่อยู่ในเนมเซิร์ฟเวอร์ และเชื่อมโยงกับดาต้าเบสอื่นเป็นชั้น ๆ เรียกว่า ดีเอนเอส (DNS) การจดทะเบียนชื่อโดเมนก็ดี การจดทะเบียนชื่อก็ดี จะต้องทำอย่างถูกหลักการ การจดทะเบียนโดเมนได้ ผู้จดทะเบียนจะต้องเป็นเจ้าของหมายเลข IP และมีสิทธิเท่านั้นการจดทะเบียนชื่อจะต้องใช้ IP เช่น IP หมายเลข 161.200.155.1 จดทะเบียนเป็น satitm.chula.ac.th

เครือข่าย (Network)


เครือข่าย (Network) หมายถึง

1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)

2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์

3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้

วัตถุประสงค์ของการใช้ระบบเครือข่าย

1. สามารถใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้

ก็คือ เครื่องลูก(Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง

2. เพื่อความประหยัด

เพราะว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องไหนก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน

3. เพื่อความเชื่อถือได้ของระบบงาน

นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบ Computer Network มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที

4. ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง

เมื่อต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ในที่ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น บริษัทแม่อยู่ที่ กรุงเทพ ส่วนบริษัทลูกอาจจะอยู่ตามต่างจังหวัด แต่ละที่ก็มีการเก็บข้อมูล การเงิน ประวัติลูกค้า และอื่นๆ แต่ถ้าต้องการใช้ข้อมูลของอีกที่หนึ่งจะเกิดความลำบาก ล่าช้า และไม่สะดวก จึงมีการนำหลักการของ Computer Network มาใช้งาน เช่น มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน หรือโปรแกรม ข้อมูล ร่วมกัน

องค์ประกอบของระบบเครือข่าย

จะต้องมี 3 ประการนี้จึงจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนระบบเครือข่าย

- เครื่องคอมพิวเตอร์ PC / Macintosh

- เครื่องคอมพิวเตอร์เวอร์คสเตชัน

2. Physical Media หรือสื่อเชื่อมต่อทางกายภาพอันได้แก่ สาย (Cable) และ Hub หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ

3. ระเบียบพิธีการติดต่อสื่อสาร (Protocol) ก็คือระเบียบหรือข้อตกลง (rules) ที่ตั้งขึ้น เพื่อทำให้ผู้ที่จะสื่อสารกันเข้าใจกันและกัน ตัวอย่างเช่นสัญญาณธงที่ทหารเรือใช้สื่อสารกัน เป็นต้น



รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology)


คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการอออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่าย (network topology) เมื่อพิจารณาการต่อเชื่อมโยงถึงกันของอุปกรณ์สำนักงานซึ่งใช้งานที่ต่าง ๆ หากต้องการเชื่อมต่อถึงกันโดยตรง จะต้องใช้สายเชื่อมโยงมาก ปัญหาของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ของสถานีปลายทางหลาย ๆ สถานีคือ จำนวนสายที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างสถานีเพิ่มมากขึ้น ง่ายต่อการติดตั้ง และมีประสิทธิภาพที่ดีต่อระบบ รูปร่างเครือข่ายงานที่ใช้ในการสื่อสารมีหลายรูปแบบ ซึ่งมีรูปแบบที่นิยมกัน 3 แบบ คือ Bus , Star และ Ring

1. Star Topology

แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

ข้อดี - การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่าย
- ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหาได้ง่าย

ข้อเสีย - ต้องใช้สายจำนวนมาก
- ถ้าฮับ(Hub)เสีย ระบบเครือข่ายจะ หยุดชะงักทั้งหมดทันที

2. Ring Topology

แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป

ข้อดี - ใช้สายเคเบิลน้อย
- เมื่อมีเครื่องเสียสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้

ข้อเสีย - หากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย
- การเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน

3. Bus Topology

แบบบัสและต้นไม้ เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สลับสาย เหมือนแบบวงแหวนหรือแบบดาว สถานีต่างๆ จะเชื่อมต่อเข้าหาบัสโดยผ่านทางอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็นฮาร์ดแวร์ การจัดส่งข้อมูลบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ การจัดส่งวิธีนี้จึงต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน

ข้อดี - การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่าย
- ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหาได้ง่าย

ข้อเสีย - ต้องใช้สายจำนวนมาก
- ถ้าฮับ(Hub)เสีย ระบบเครือข่ายจะ หยุดชะงักทั้งหมดทันที



อุปกรณ์ระบบเครือข่าย


สายสัญญาณ หรือสายรับ-ส่งข้อมูล




สายคู่บิดเกลียว ( Twisted pair) แต่ละคู่สายทองแดงจะถูกพันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก โดยระยะทางในการเดินสายสัญญาณจะไม่เกิน 100 เมตร เพราะถ้าเกินก็จะเกิดปัญหาในการ รับ-ส่งข้อมูล

สายคู่บิดเกลียวแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

ก. สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียว ที่หุ้ม ด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูป เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า 

สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน 
ข. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair :UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียว ที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นดังรูปทำให้สะดวกในการโค้งงอแต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก ซึ่งสายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน นี้เป็นแบบ ที่นิยมใช้มาก เนื่องจากราคาถูก และติดตั้งได้ง่าย

สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน
สายโคแอกเชียล ( Coaxial ) สายโคแอกเชียลเป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวีที่มีการใช้งานกันมาก การส่งข้อมูลระยะไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์ หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดิทัศน์ แต่ในปัจจุบันสายแบบโคแอกเชียลนี้จะไม่นิยมนำมาติดตั้งในระบบเครือข่าย LAN เนื่องจากมีความยุ่งยากมากกว่าการติดตั้งโดยใช้สาย UTP และราคาจะสูงกว่าด้วยครับ

ลักษณะของสายโคแอกเชียล 

สายไฟเบอร์ออบติก(Fiber Obtic) หรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายรับ-ส่งสัญญาณด้วยแสง มีความเร็วในการทำงานสูง ส่งข้อมูลได้ไกล และไม่มีสัญญาณรบกวน มีราคาแพง

อินเทอร์เน็ต



อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง ( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต
อินเทอร์เน็ตมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเล่นอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
ระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง และสามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้

เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือAdvanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี 1969 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อ
การสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี ค.ศ. 1970 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
สำหรับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ IDP (The International Development Plan) เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถติต่อสื่อสารทาง
อีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียได้ ได้มีการติดตั้งระบบอีเมลขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์ ความเร็วของโมเด็มที่ใช้ในขณะนั้นมีความเร็ว 2,400 บิต/วินาที จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลฉบับแรกที่ติดต่อระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเปรียบเสมือนประตูทางผ่าน (Gateway) ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลียในขณะนั้น
ในปี พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย
ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต
จึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมาย